คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๒๐๔/๒๕๖๒
ผู้เสียหายทั้งสี่ยอมจ่ายเงินให้แก่จำ เลยเพราะกลัวว่าจะถูกจำ เลยกับพวกทำ ร้าย การกระทำ ของจำ เลยที่ใช้เหล็กแป็บที่หลังผู้เสียหายที่
๑ พวกของจำ เลยล็อกคอผู้เสียหายที่
๑ และจำ เลยกับพวกพูดว่าหากไม่ได้เงินมีเรื่องแน่
เป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายทั้งสี่ให้ยอมให้เงินและแหวนทองคำ ซึ่งเป็นทรัพย์สินมูลค่าน้อยกว่าที่จำ เลยกับพวกต้องการ
จึงไม่เข้าลักษณะเป็นการขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำ ลังประทุษร้าย อันจะเป็นความผิดฐานร่วมกันชิงทรัพย์โดยกระทำ ความผิดร่วมกันตั้งแต่สามคนขึ้นไปตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๓๔๐ วรรคสอง ประกอบมาตรา ๓๔๐ ตรี, ๘๓ แต่เข้าลักษณะเป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายทั้งสี่ให้ยอมให้จำ เลยได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน
โดยขู่เข็ญว่าจะทำ อันตรายต่อเสรีภาพของผู้เสียหายทั้งสี่
เป็นความผิดฐานกรรโชกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๓๗ วรรคแรก
โจทก์ฟ้องว่า จำ เลยกับพวกร่วมกันกระทำ ความผิดฐานปล้นทรัพย์
แม้ไม่ใช่ฐานความผิดที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๙๒
วรรคสาม แต่ความผิดฐานปล้นทรัพย์เป็นการ กระทำ ผิดฐานลักทรัพย์อันมีลักษณะเป็นการชิงทรัพย์ โดยร่วมกันกระทำความผิดตั้งแต่สามคนขึ้นไป
ข้อเท็จจริงได้ความว่าจำ เลยร่วมกับพวกกระทำ ความผิดฐานกรรโชก
ซึ่งเป็นความผิดฐานหนึ่งที่บัญญัติไว้ใน มาตรา ๑๑๙๒ วรรคสาม ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำ คัญ ทั้งมิให้ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคำ ขอหรือโจทก์ไม่ ประสงค์ให้ลงโทษ เมื่อจำ เลยให้การปฏิเสธโดยนำ สืบอ้างฐานที่อยู่แสดงว่าจำ เลยไม่หลงต่อสู้ศาลมีอำ นาจลงโทษจำ เลยในความผิดฐานกรรโชกตามที่พิจารณาได้ความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ
อาญา มาตรา ๑๒ วรรคสาม
ตามฎีกานี้ ผู้เสียหายที่ ๑
รวบรวมเงินจากผู้เสียหายที่ ๓ และที่ ๔ ได้ ๘๓๐ บาท กับแหวนทองคำหนัก ๒ สลึง ๔,๔๐๐
บาท ของผู้เสียหายที่ ๒ นำมามอบให้จำเลย
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๓๓๗ ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้หรือยอมจะให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน
โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือโดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ
ชื่อเสียงหรือ ทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญหรือของบุคคลที่สาม
จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานกรรโชก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี
และปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
ถ้าความผิดฐานกรรโชกได้กระทำโดย
(๑) ขู่ว่าจะฆ่า ขู่ว่าจะทำร้ายร่างกายให้ผู้ถูกข่มขืนใจ
หรือผู้อื่นให้ได้รับอันตรายสาหัส หรือขู่ว่าจะทำให้เกิดเพลิงไหม้แก่ทรัพย์ของผู้ถูกข่มขืนใจหรือผู้อื่น
หรือ
(๒) มีอาวุธติดตัวมาขู่เข็ญ
ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงเจ็ดปี
และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๑๙๒ ห้ามมิให้พิพากษา
หรือสั่ง เกินคำ ขอ
หรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง
ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง
ให้ศาล ยกฟ้องคดีนั้น เว้นแต่ข้อแตกต่างนั้นมิใช่ในข้อสาระสำ คัญและทั้งจำ เลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลจะลงโทษจำ เลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นก็ได้
ในกรณีที่ข้อแตกต่างนั้นเป็นเพียงรายละเอียด เช่น เกี่ยวกับเวลาหรือสถานที่กระทำ ความผิดหรือต่าง กันระหว่างการกระทำ ผิดฐานลักทรัพย์ กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ฉ้อโกง โกงเจ้าหนี้ ยักยอก รับของโจร และ ทำ ให้เสียทรัพย์ หรือต่างกันระหว่างการกระทำ ผิดโดยเจตนากับประมาท มิให้ถือว่าต่างกันในข้อสาระสำ คัญ ทั้งมิให้ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคำ ขอหรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ เว้นแต่จะปรากฏแก่ศาลว่าการที่ฟ้องผิดไปเป็นเหตุให้จำ เลยหลงต่อสู้ แต่ทั้งนี้ศาลจะลงโทษจำ เลยเกินอัตราโทษที่กฎหมายกำ หนดไว้สำ หรับความผิดที่โจทก์ฟ้องไม่ได้
0 Comments
แสดงความคิดเห็น