ประเด็น การพิจารณาพิพากษาคดีขอคืนของกลางต้องมีผู้พิพากษาสมทบร่วมเป็นองค์คณะด้วยหรือไม่
ฎีกาที่ ๑๒๙๑/๒๕๖๒ การขอคืนของกลางไม่เกี่ยวกับการลงโทษหรือกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน
ไม่ใช่การทำคำพิพากษาตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
พ.ศ.๒๕๕๓ หมวด ๑๑ ไม่จำต้องมีผู้พิพากษาสมทบร่วมเป็นองค์คณะตามมาตรา ๒๓ วรรคหนึ่ง
เมื่อผู้พิพากษาศาลชั้นต้นสองคนร่วมกันเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีร้องขอคืนของกลางโดยไม่มีผู้พิพากษาสมทบร่วมเป็นองค์คณะ
จึงเป็นองค์คณะที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งหรือคดีอาญาทั้งปวงตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา
๒๖ ประกอบพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๖
หมายเหตุ ผู้มีอำนาจยื่นคำคัดค้านขอคืนขอลกลางคือ พนักงานอัยการโจทก์
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม
มาตรา ๒๖
ภายใต้บังคับมาตรา ๒๕ ในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลชั้นต้น นอกจากศาลแขวงและศาลยุติธรรมอื่นซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคน และต้องไม่เป็นผู้พิพากษาประจำศาลเกินหนึ่งคน
จึงเป็นองค์คณะที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งหรือ คดีอาญาทั้งปวง
พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
พ.ศ.๒๕๕๓
มาตรา ๒๓
ภายใต้บังคับมาตรา ๒๔ ศาลเยาวชนและครอบครัวต้องมีผู้พิพากษาไม่น้อยกว่า สองคน
และผู้พิพากษาสมทบอีกสองคนซึ่งอย่างน้อยคนหนึ่งต้องเป็นสตรี จึงเป็นองค์คณะพิจารณาคดีได้
ส่วนการทำคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลนั้น ถ้าคำพิพากษาหรือคำสั่งจะต้องทำโดยองค์คณะพิจารณาคดี
คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นจะต้องบังคับตามคะแนนเสียงฝ่ายข้างมากของผู้พิพากษาและผู้พิพากษาสมทบ
ที่เป็นองค์คณะพิจารณาคดีนั้น ในกรณีที่มีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้นำบทบัญญัติแห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ในการพิจารณาพิพากษาคดีครอบครัวใดจะต้องมีผู้พิพากษาสมทบเป็นองค์คณะหรือไม่
ให้เป็นไปตามมาตรา ๑๔๗
0 Comments
แสดงความคิดเห็น