ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓ คำว่า กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดหรือกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดนั้น หมายถึงกฎหมายที่บัญญัติถึงการกระทำอันเป็นความผิด หรือบัญญัติถึงกำหนดโทษหรือโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้น ซึ่งในคดีนี้ได้แก่บทบัญญัติความผิดฐานชิงทรัพย์และบทบัญญัติตามมาตรา
๙๒ อันเป็นบทกฎหมายให้เพิ่มโทษแก่ผู้กระทำความผิดอีก หากมีการแก้ไขบทกฎหมายดังกล่าวในทางที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดและมีผลที่จะทำให้จำเลยได้รับโทษน้อยลง ศาลก็มีอำนาจแก้ไขโทษที่จะลงแก่จำเลยได้ภายในเงื่อนไขของ
มาตรา ๓ นั้น แต่บทบัญญัติในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมี
พระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา พ.ศ.๒๕๕๐ เป็นกฎหมายที่บัญญัติไว้ให้
ถือว่าผู้ต้องโทษในความผิดต่าง ๆ ที่ได้กระทำก่อนหรือในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
และพ้นโทษไปแล้วก่อนหรือวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับมิเคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้นๆ
อันเป็นเรื่องเฉพาะบุคคลที่กระทำความผิดเป็นรายๆ ไปที่จะได้รับประโยชน์จากกฎหมายดังกล่าว
มิใช่เป็นเรื่องที่มีการแก้ไขกฎหมายตามความหมายในมาตรา ๓
แห่งประมวลกฎหมายอาญาแต่อย่างใด กรณีมิใช่เป็นเรื่องกฎหมายที่ใช้หลังกระทำความผิดแตกต่างจากกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดดังที่จำเลยอ้าง
ศาลจึงไม่อาจนำมาตรา ๓ มาปรับใช้ในคดีนี้ได้
เพิ่มเติม
ฎีกาที่
๓๑๐/๒๕๕๗ ตาม ป.อ. มาตรา ๓ แบ่งการบังคับใช้กฎหมายได้ ๒ กรณีคือ กรณีที่คดียังอยู่ระหว่างการพิจารณา
ศาลมีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย หากศาลบังคับใช้แล้ว
คู่ความไม่เห็นด้วยต้องอุทธรณ์หรือฎีกาคัดค้านไปยังศาลสูง
ส่วนอีกกรณีหนึ่งตามมาตรา ๓(๑) กฎหมายที่แก้ไขใหม่บังคับใช้เมื่อคดีถึงที่สุดไปแล้ว
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๓ ถ้ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด ให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด ไม่ว่าในทางใด เว้นแต่คดีถึงที่สุดแล้ว แต่ในกรณีที่คดีถึงที่สุดแล้ว ดังต่อไปนี้....
0 Comments
แสดงความคิดเห็น