คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๔๐/๒๕๖๓
แม้การบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์กำหนดให้ต้องบังคับเอาแก่ทรัพย์จำนองก่อน
หากไม่ครบจำนวนหนี้จึงจะบังคับเอาแก่ทรัพย์สินอื่นได้ก็ตาม แต่เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์จำนองเป็นเงิน
๑๐,๔๕๑,๔๘๐ บาท และในวันที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ยึดที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่
๑ และ จำเลยที่ ๔ เพิ่มเติม จำเลยทั้งสี่เป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษา จำนวน ๑๖,๐๘๔,๕๕๔.๕๘ บาท หากขายทอดตลาดที่ดินทรัพย์จำนองไปตามราคาดังกล่าวก็ยังคงเหลือหนี้ตามคำพิพากษาอีกมากเพียงพอสมควรแก่การให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสี่เพิ่มเติม
เพื่อบังคับชำระหนี้แก่โจทก์ และโจทก์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินทรัพย์จำนองก่อนครบกำหนดระยะเวลาการบังคับคดี
แต่ยังไม่สามารถขายที่ดินดังกล่าวได้ ถือได้ว่าโจทก์ขอให้บังคับคดีแก่ทรัพย์จำนองภายในกำหนดระยะเวลาการบังคับคดีแล้ว
ประกอบกับที่ดินทรัพย์จำนองที่ดินโจทก์นำยึดมีราคาประเมินไม่เพียงพอที่จะชำระหนี้แก่โจทก์ตามคำพิพากษา
หากต้องรอให้มีการขายทอดตลาดที่ดินทรัพย์จำนองเสร็จสิ้นก่อนถึงจะกลับมายึดทรัพย์สินอื่นได้ย่อมพ้นกำหนดระยะเวลาบังคับคดีเป็นเหตุให้โจทก์อาจเสียสิทธิในการบังคับคดี
ทั้ง ๆ ที่การบังคับคดีล่าช้าส่วนหนึ่งเกิด จากการที่จำเลยที่ ๑ และที่ ๔ ขอดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นฎีกาอย่างคนอนาถา
จำเลยที่ ๔ อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ ส.
เข้าสวมสิทธิเป็นโจทก์แล้วทิ้งอุทธรณ์ กับคู่ความยื่นคำร้องขอแก้ไขคำพิพากษา
มิใช่เกิดจากความผิดของโจทก์ การยึดที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ ๑
และที่ ๔ ไว้ก่อนแต่ยังไม่ต้องนำออกขายจนกว่าจะมีการขายทอดตลาดที่ดินทรัพย์จำนองเสร็จสิ้นและได้เงินไม่พอชำระหนี้จึงค่อยนำที่ดินดังกล่าวออกขายทอดตลาดก็ไม่ขัดต่อขั้นตอนการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์และก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย
โจทก์จึงมีสิทธินำยึดที่ดินของจำเลยที่ ๑ และที่ ๔ เพิ่มเติมได้
โจทก์ยื่นคำร้องขอยึดทรัพย์ของจำเลยที่
๑ และที่ ๔ เพิ่มเติม ภายในกำหนดระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา
๒๗๑ (เดิม) แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มีคำสั่งและคำพิพากษายกคำร้อง
และในชั้นฎีกาล่วงเลยกำหนดระยะเวลาบังคับคดีที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายแล้ว
กรณีถือว่ามีเหตุสุดวิสัยที่โจทก์ไม่สามารถบังคับคดีภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว
ศาลฎีกาเห็นสมควรขยายระยะเวลาการบังคับคดีให้โจทก์ออกไปอีกนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้คู่ความฟัง
หมายเหตุ เปรียบเทียบ ฎีกาที่ ๓๓๙/๒๕๖๓
ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ป.วิ.พ.มาตรา ๒๗๔
0 Comments
แสดงความคิดเห็น