คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๗๗/๒๕๖๓
ศาลอุทธรณ์ภาค ๘ พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาโดยให้โจทก์ลงลายมือชื่อในคำฟ้องเสียให้บริบูรณ์แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา ๒๔๓ (๒) คดีย่อมเสร็จเด็ดขาดไปจากศาลอุทธรณ์ภาค ๘ โดยมิได้วินิจฉัยประเด็นแห่งอุทธรณ์ของโจทก์
ศาลอุทธรณ์ภาค ๘ ชอบที่จะยกอุทธรณ์ของโจทก์เสียด้วยและสั่งคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ทั้งหมดแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา ๑๕๑ วรรคหนึ่ง แม้ศาลอุทธรณ์ภาค ๘ มิได้สั่งให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์
ก็ต้องถือว่าอุทธรณ์ของโจทก์ตกไปในตัว เพราะกระบวนการพิจารณาต้องไปเริ่มใหม่ที่ศาลชั้นต้นใหม่
ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่โดยให้ทนายโจทก์ลงลายมือชื่อในช่องผู้เรียงพิมพ์ในคำฟ้องบริบูรณ์แล้วพิพากษาใหม่เป็นให้ยกฟ้อง
หากโจทก์ประสงค์จะยื่นอุทธรณ์ต่อไป โจทก์ต้องทำอุทธรณ์มายื่นใหม่ ซึ่งศาลชั้นต้นมีหน้าที่ตรวจอุทธรณ์และ มีคำสั่งให้ส่งหรือปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์นั้นไปยังศาลอุทธรณ์ภาค
๘ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๓๒ การที่โจทก์อุทธรณ์โดยขอถือเอาอุทธรณ์ฉบับเดิมที่ยื่นไว้ก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาใหม่และตกไปแล้วเป็นอุทธรณ์ของโจทก์
จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ของโจทก์ไปยังศาลอุทธรณ์ภาค
๘ ตามมาตรา ๒๓๒ และมีคำสั่งให้โจทก์ทำอุทธรณ์มายื่นใหม่ภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รวบรวมถ้อยคำสำนวนส่งศาลอุทธรณ์ภาค ๘ พิจารณาตามความประสงค์ของโจทก์จึงเป็น
การไม่ชอบ
ศาลอุทธรณ์ภาค ๘
เห็นว่าอุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค ๘ มีอำนาจยกอุทธรณ์ของโจทก์ได้ก็ตาม
แต่อุทธรณ์ที่ไม่ชอบนั้นเกิดจากกระบวนการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค ๘ ที่ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นแก้ไขคำฟ้องโดยให้โจทก์ลงชื่อในคำฟ้องแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
โดยศาลอุทธรณ์ภาค ๘ มิได้สั่งยกอุทธรณ์ของโจทก์ตั้งแต่แรก เป็น
เหตุให้ศาลชั้นต้นผิดหลงส่งอุทธรณ์ที่ตกไปแล้วไปยังศาลอุทธรณ์ภาค ๘ และศาลอุทธรณ์ภาค
๘ พิพากษายกอุทธรณ์โดยไม่ให้โอกาสแก่โจทก์ได้แก้ไขข้อบกพร่องเพื่อให้โจทก์ทำอุทธรณ์มายื่นใหม่ภายในระยะเวลาที่กำหนด
ทั้งที่โจทก์ยังประสงค์ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค ๘ มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อมุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม
ในเรื่องการยื่นอุทธรณ์อันเป็นกระบวนการพิจารณาที่ผิดระเบียบ ศาลฎีกามีอำนาจสั่งเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียทั้งหมดหรือแต่บางส่วนหรือสั่งแก้ไขหรือมีคำสั่งในเรื่องนั้นอย่างใด
อย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๗ ได้
เพิ่มเติม
ฎีกาที่
๓๕๐/๒๕๕๘ พ.
ทนายโจทก์ได้รับแต่งตั้งให้ว่าความมาตั้งแต่ศาลชั้นต้น
ปรากฏว่าใบแต่งทนายความดังกล่าวไม่ได้ระบุให้ทนายโจทก์มีอำนาจอุทธรณ์ฎีกาแทนโจทก์ได้
ฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ที่ทนายโจทก์ลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา
๖๒ วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา ๒๔๖ ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะต้องแก้ไขความบกพร่องในข้อนี้
เสียก่อน แม้ฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยที่ ๑ จะยื่นโดยชอบแล้วก็ตาม
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์และจำเลยที่ ๑ ไปพร้อมกันและมีคำพิพากษาโดยที่ยังมิได้แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวเสียให้ถูกต้อง
เป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณาตามมาตรา ๒๔๓ (๒) เป็นการไม่ชอบและเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้อง
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๔๒ (๕) ประกอบมาตรา ๒๔๖ และมาตรา ๒๔๗ และไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ต่อไป
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา ๒๗ วรรคหนึ่ง
ในกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม
หรือที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในเรื่องการเขียน และการยื่นหรือการส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่น
ๆ หรือในการพิจารณาคดี การพิจารณาพยานหลักฐาน หรือการบังคับคดี
เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายที่เสียหายเนื่องจากการที่มิได้ปฏิบัติเช่นว่านั้นยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง
ให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียทั้งหมดหรือบางส่วน
หรือสั่งแก้ไขหรือมีคำสั่งในเรื่องนั้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามที่ศาลเห็นสมควร
มาตรา ๒๔๓
ให้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจดังต่อไปนี้ด้วย คือ
(๒) เมื่อคดีปรากฏเหตุที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยการพิจารณาหรือมีเหตุที่ศาลได้ปฏิเสธไม่สืบพยานตามที่ผู้อุทธรณ์ร้องขอ
และศาลอุทธรณ์เห็นว่ามีเหตุอันสมควร ก็ให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้นนั้นแล้วกำหนดให้ศาลชั้นต้นซึ่งประกอบด้วยผู้พิพากษาคณะเดิมหรือผู้พิพากษาอื่น
หรือศาลชั้นต้นอื่นใดตามที่ศาลอุทธรณ์จะเห็นสมควร
พิจารณาคดีนั้นใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วน และพิพากษาหรือมีคำสั่งใหม่
วรรคสอง ในคดีทั้งปวงที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งใหม่ตามมาตรานี้ คู่ความชอบที่จะอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งใหม่เช่นว่านี้ไปยังศาลอุทธรณ์ได้ตามบทบัญญัติแห่งลักษณะนี้
0 Comments
แสดงความคิดเห็น