คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๗๑๑๙/๒๕๖๒

               ตามใบคู่มือจดทะเบียนรถจักรยานยนต์มีชื่อผู้ร้องเป็นเจ้าของ ซึ่งตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.๒๕๒๒ มาตรา ๑๗/๑ วรรคสอง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้มีชื่อเป็นเจ้าของในทะเบียนรถยนต์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ผู้ร้องจึงได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าว แต่พฤติการณ์การใช้รถจักรยานยนต์ของกลางของ น. แสดงให้เห็นว่า ผู้ร้องซื้อรถจักรยานยนต์ของกลางมาเพื่อประโยชน์ของ น. บุตรของผู้ร้องเป็นสำ คัญ เห็นได้จากการที่ น. ครอบครองใช้ขับไปทำ งานอยู่เป็นประจำ  และวันเกิดเหตุช่วงเวลากลางคืนยังขับรถจักรยานยนต์ของกลางไปบ้าน ว. เพื่อนของ น. โดยไม่ได้ขออนุญาตผู้ร้อง กุญแจรถจักรยานยนต์ของกลางถูกเก็บไว้ในลิ้นชักโต๊ะทำ งานซึ่งตั้งอยู่ที่ห้องโถง บุคคลทุกคนในครอบครัวต่างก็รับรู้ถึงสถานที่เก็บกุญแจรถจักรยานยนต์ และอยู่ในวิสัยที่นำ ไปใช้ได้ แสดงว่าผู้ร้องมิได้เข้มงวดในการอนุญาตให้ น. นำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้อย่างแท้จริง และการที่ น. สามารถนำ รถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้ทำ กิจกรรมต่าง ๆ โดยไม่ขออนุญาตเช่นนี้ได้ ก็ถือได้ว่าผู้ร้องอนุญาตโดยปริยายให้ น. นำรถจักรยานยนต์ไปใช้ได้ตลอดเวลา โดยไม่คำ นึงถึงว่า น. จะนำ ไปใช้ในกิจการใดหรือจะอนุญาตให้ผู้อื่นนำ ไปใช้ต่อด้วยหรือไม่ ถือได้ว่าผู้ร้องมีส่วนรู้เห็นเป็นใจด้วยใน การกระทำ ความผิดของจำ เลยคดีนี้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลาง ทั้งตามพฤติการณ์ผู้ร้องขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลางโดยมีวัตถุประสงค์เพียง เพื่อประโยชน์ให้ น. บุตรของผู้ร้องสามารถนำ รถจักรยานยนต์ของกลางกลับไปใช้ได้เท่านั้น อันเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตอีกด้วย

 

เพิ่มเติม

               ฎีกาที่ ๓๒๖๘/๒๕๔๘ ผู้ร้องเป็นบิดาของจำเลยที่ ๑ เคยใช้ให้จำเลยที่ ๑ ขับรถจักรยานยนต์ของกลางไปซื้อของและเคยจับได้ว่าจำเลยที่ ๑ แอบเอารถจักรยานยนต์ของกลางไปขับในเวลากลางคืน ซึ่งไม่ ปรากฏผู้ร้องได้ดำเนินการเพื่อป้องกันมิให้เกิดการกระทำดังกล่าวขึ้นอีกแต่อย่างใด แต่กลับปล่อยปละละเลยให้จำเลยที่ ๑ สามารถนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้กระทำความผิดได้อีก ทั้งที่จำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นผู้เยาว์พักอาศัยอยู่บ้านเดียวกับผู้ร้อง พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าผู้ร้องยินยอมอนุญาตให้จำเลยที่ ๑ นำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้ได้ตลอดเวลาตามที่จำเลยที่ ๑ ต้องการ โดยไม่คำนึงถึงว่าจำเลยที่ ๑ จะนำไปใช้ในกิจการใด การที่จำเลยที่ ๑ นำรถจักรยานยนต์ของกลางไปขับแข่งกับพวกบนทางเดินรถสาธารณะในเวลากลางคืน ถือได้ว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยที่ ๑ โดยปริยาย ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลาง

 

ประมวลกฎหมายอาญา

               มาตรา ๓๖ ในกรณีที่ศาลสั่งให้รับทรัพย์สินตามมาตรา ๓๓ หรือ มาตรา ๓๔ ไปแล้ว หากปรากฏในภายหลังโดยคำเสนอของเจ้าของแท้จริงว่า ผู้เป็นเจ้าของแท้จริงมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ก็ให้ศาลสั่งให้คืนทรัพย์สิน ถ้าทรัพย์สินนั้นยังคงมีอยู่ในความครอบครองของเจ้าพนักงาน แต่คำเสนอของเจ้าของแท้จริงนั้นจะต้องกระทำต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด