คำพิพากษาฎีกาที่ ๙๘๓๑/๒๕๖๐
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนให้ที่ดินระหว่างจำเลยที่
๒ กับที่ ๓ ซึ่งเป็นบุตรโดยเสน่หาอันเป็นทางให้โจทก์
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ ๑ เสียเปรียบ จึงต้องด้วยประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๒๓๗ แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า หนี้ที่จำเลยที่ ๑
เป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมเป็นหนี้ระหว่างจำเลยที่ ๑ กับที่ ๒
ซึ่งเป็นสามีภริยากันตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา ๑๔๙๐ (๑) ถึง (๔) ซึ่งจำเลยที่
๒ จะต้องร่วมรับผิดในหนี้ตามคำพิพากษาร่วมกับจำเลยที่ ๑ ซึ่งจะมีผลให้จำเลยที่ ๒
อยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้โจทก์ด้วย เมื่อจำเลยที่ ๒ มิได้อยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้โจทก์
ประกอบกับโจทก์นำสืบไม่ได้ว่า หนี้ของจำเลย ที่ ๑ เป็นหนี้ร่วมที่จำเลยที่ ๒
จะต้องร่วมรับผิด โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนให้ที่ดินตามฟ้องระหว่างจำเลยที่
๒ และที่ ๓
ตามฎีกานี้
โจทก์ฎีกาว่า แม้จำเลยที่ ๒ จะไม่ได้เป็นหนี้ร่วมกับจำเลยที่ ๑ แต่จำเลยที่ ๑ ก็มีส่วนเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์สินที่ดินซึ่งเป็นสินสมรสด้วย
เพิ่มเติม
ฎีกาที่
๑๔๐๙๔/๒๕๕๕ โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินที่อ้างว่าจำเลยที่
๑ โอนให้แก่จำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นบุตรโดยเสน่หา อันเป็นทางให้โจทก์เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของ
จ. เสียเปรียบ กรณีจึงต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา ๒๓๗ แล้ว
แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าหนี้ที่ จ. เป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งดังกล่าวเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่
๑ กับ จ. ซึ่งเป็นสามีภริยากันตามที่ได้บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา ๑๔๙๐ (๑) ถึง
(๔) อันจำเลยที่ ๑ จะต้องรับผิดในหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งดังกล่าวร่วมกับ จ.
ซึ่งจะมีผลให้จำเลยที่ ๑ อยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้โจทก์ด้วย เมื่อจำเลยที่ ๑ มิได้อยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้โจทก์
โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินตามฟ้อง ระหว่างจำเลยทั้งสองได้
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างศาลก็มีอำนาจที่จะ หยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม
ป.วิ.พ. มาตรา ๑๔๒ (๕)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา
๒๓๗ เจ้าหนี้ชอบที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนเสียได้ซึ่งนิติกรรมใด ๆ อันลูกหนี้
ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ
แต่ความข้อนี้ท่านมิให้ใช้บังคับ ถ้าปรากฏ ว่าในขณะที่ทำนิติกรรมนั้น
บุคคลซึ่งเป็นผู้ได้ลาภงอกแต่การนั้นมิได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอัน
เป็นทางให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบนั้นด้วย แต่หากกรณีเป็นการทำให้โดยเสน่หา
ท่านว่าเพียงแต่ ลูกหนี้เป็นผู้รู้ฝ่ายเดียวเท่านั้นก็พอแล้วที่จะขอเพิกถอนได้
บทบัญญัติดังกล่าวมาในวรรคก่อนนี้
ท่านมิให้ใช้บังคับแก่นิติกรรมใดอันมิได้มีวัตถุเป็น สิทธิในทรัพย์สิน
0 Comments
แสดงความคิดเห็น