คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๐๐๖/๒๕๖๓
ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มีพระราชบัญญัติป่าไม้
(ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๖๒ มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่ง ของมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้
พ.ศ. ๒๔๘๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐๖/๒๕๕๗
และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๗ ไม้ชนิดใดที่ขึ้นในป่า จะเป็นไม้หวงห้ามประเภทใด ให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
สำหรับไม้ทุกชนิดที่ขึ้นในที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง
ตามประมวลกฎหมายที่ดินไม่เป็นไม้หวงห้าม หรือไม้ที่ปลูกขึ้น
ในที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้ทำประโยชน์ตามประเภทหนังสือแสดงสิทธิที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
ให้ถือว่าไม่เป็นไม้หวงห้าม” เป็นกรณีที่พระราชบัญญัติป่าไม้
(ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๖๒ ซึ่งเป็นบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังกำหนดให้ไม้ที่ขึ้นในที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์ไม่เป็น
ไม้หวงห้าม การทำไม้ในที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์ไม่เป็นการทำไม้หวงห้ามอันจะเป็นความผิดอีกต่อไป
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒ วรรคสอง
ไม้พะยูงที่ถูกตัดเป็นไม้ที่ขึ้นในที่ดินที่
อ. มีกรรมสิทธิ์ จึงไม่ใช่ไม้หวงห้ามตามบทบัญญัติของกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำผิด
การกระทำของจำเลยทั้งสี่ที่ร่วมกันทำไม้พะยูงและมีไม้พะยูงอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองในที่ดินที่เกิดเหตุตามฟ้อง
จึงไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันทำไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาต และฐานร่วมกันมีไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม
พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. ๒๔๘๔ มาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง, ๖๙ วรรคสอง (๑), ๗๓ วรรคสอง (๑) อีกต่อไป
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒ วรรคสอง
หมายเหตุ
๑.ข้อเท็จจริงตามฎีกานี้ “ที่ดินที่เกิดเหตุเป็นโฉนดที่ดิน”
๒. พระราชบัญญัติป่าไม้(ฉบับที่ ๘)
พ.ศ.๒๕๖๒ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๖๒
๓.การทำไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาตในที่ดินมีกรรมสิทธิ์
ไม่เป็นความผิด การมีไม้หวงห้ามยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต
ย่อมไม่มีความผิดด้วย
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๒ วรรคสอง ถ้าตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง การกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป ให้ผู้ที่ได้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด และถ้าได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษแล้ว ก็ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดนั้น ถ้ารับโทษอยู่ก็ให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลง
0 Comments
แสดงความคิดเห็น