คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๙๓๘/๒๕๖๓
จำเลยทั้งสองเจตนาจะบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อโจทก์โดยส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อกลับคืนให้เจ้าของ
ณ ภูมิลำเนาของเจ้าของ
และตกลงที่จะรับผิดในบรรดาหนี้ที่เกิดขึ้นจากการบอกเลิกสัญญานี้
อันเป็นการใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามข้อสัญญาเช่าซื้อ สัญญาเช่าซื้อจึงเลิกกันตามข้อสัญญา
หาใช่สัญญาเช่าซื้อเลิกกันโดยคู่สัญญาสมัครใจที่จะเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยายไม่
โจทก์มีสิทธิเรียกค่าขาดราคาได้
จำเลยที่ ๑
เริ่มผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่วันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๘
ซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๔๖ ที่แก้ไขใหม่
มีผลใช้บังคับแล้ว เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ต้องมี หนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำประกันภายใน
๖๐ วัน นับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัด
โจทก์มีหนังสือแจ้งสิทธิการซื้อทรัพย์สินส่งไปยังจำเลยที่ ๒
โดยหนังสือถูกส่งคืนกลับต้นทาง และโจทก์ขายทอดตลาดรถยนต์ที่เช่าซื้อ
หลังจากนั้นโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามไปยังจำเลยที่ ๒ อีกครั้ง จำเลยที่ ๒ ได้รับเมื่อวันที่ ๑๕
มิถุนายน ๒๕๕๙ จำเลยที่
๒ ในฐานะส่วนตัวซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดในดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทนตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้รายนั้นบรรดาที่เกิดขึ้นภายหลังจากพ้นกำหนดเวลา ๖๐ วัน จำเลยที่ ๒ ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ ๑
ชำระค่าขาดประโยชน์อันเป็นค่าสินไหมทดแทนเพียง
๖๐ วัน ส่วนค่าขาดราคาถือเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ จำเลยที่ ๒ ไม่ต้องร่วมกับจำเลยที่ ๑ รับผิดในมูลหนี้ค่าขาดราคา
ตามฎีกานี้
สัญญาเช่าซื้อ ข้อ ๙ กำหนดว่า ผู้เช่าซื้อฝ่ายเดียวจะบอกเลิกสัญญาในเวลาใดก็ได้
โดยการส่งมอบรถยนต์ที่ เช่าซื้อกลับคืนให้เจ้าของ ณ ภูมิลำเนาของเจ้าของ และผู้เช่าตกลงที่จะชำระบรรดาหนี้ที่มีอยู่ก่อนวันบอกเลิกสัญญาแก่เจ้าของจนครบถ้วน
และเมื่อเจ้าของนำรถยนต์ที่เช่าซื้อออกขาย หากได้ราคาน้อยกว่ามูลหนี้ส่วนที่ขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อ
ผู้เช่าซื้อจะต้องรับผิดชำระส่วนที่ขาดนั้นให้แก่เจ้าของจนครบถ้วน
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีข้อตกลงว่าที่จะรับผิดในบรรดาหนี้ที่เกิดขึ้นจากการบอกเลิกสัญญานี้ แม้จะไม่ได้มีการชำระเงินใดๆ ในขณะส่งมอบรถคืน
ถือว่าเป็นการเลิกสัญญาตามข้อสัญญา จำเลยจึงต้องรับผิดในค่าขาดราคา
จำเลยที่ ๑
ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดที่ ๒๕ ประจำวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๘
โจทก์มิได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลยทั้งสอง ต่อมาวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙
จำเลยที่ ๒ ส่งมอบรถยนต์คืนโจทก์
หมายเหตุ
เปรียบเทียบ ฎีกาที่ ๔๖๐๗/๒๕๖๒
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๓๘๖ ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเลิกสัญญาโดยข้อสัญญาหรือโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
การเลิกสัญญาเช่นนั้นย่อมทำด้วยแสดงเจตนาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง
แสดงเจตนาดังกล่าวมาในวรรคก่อนนั้น
ท่านว่าหาอาจจะถอนได้ไม่
0 Comments
แสดงความคิดเห็น