คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๕๙๖/๒๕๖๒
จำเลยยักยอกรถยนต์ที่ผู้เสียหายเช่าซื้อขณะอยู่ในความครอบครองใช้ประโยชน์ของผู้เสียหาย
ย่อมทำให้ผู้เสียหายได้รับความ เสียหายโดยตรงจากการกระทำของจำเลย
ผู้เสียหายจึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยและมีอำนาจร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดฐานยักยอกรถยนต์ได้
หมายเหตุ
๑.ตามฎีกานี้ โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาฉ้อโกง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๔๑ จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนในส่วนความผิดอาญา
และพิพากษาแก้ในส่วนให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาแก่ผู้เสียหาย จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาพิพากษายืน
๒.จำเลยฎีกาว่า
ผู้เสียหายไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย ไม่มีอำนาจร้องทุกข์ ซึ่งศาลฎีกาวินิจฉัยว่า
“ผู้เสียหายเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยและมีอำนาจร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลย”
๓.ฎีกาที่ ๗๙๖๐/๒๕๕๑ แม้ตามสัญญาเช่าซื้อจะมีข้อสัญญาห้ามมิให้ผู้เช่าซื้อนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปจำหน่ายให้แก่บุคคลอื่นก็ตาม
ก็เป็นเรื่องระหว่างผู้ให้เช่าซื้อกับผู้เสียหายซึ่งจะต้องไปว่ากล่าวกันอีกส่วนหนึ่ง
ทั้งข้อเท็จจริงยังได้ความจากคำเบิกความของผู้เสียหายว่าผู้เสียหายแจ้งให้บริษัทผู้ให้เช่าซื้อทราบแล้วว่าจะทำสัญญาเปลี่ยนตัวผู้เช่าซื้อเป็นจำเลย
เมื่อจำเลยกับพวกร่วมกันหลอกลวงผู้เสียหายให้ขายดาวน์รถยนต์แก่จำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำต่อผู้เสียหายโดยตรง
โดยผู้เสียหายไม่ได้มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงด้วย
อีกทั้งขณะเกิดเหตุผู้เสียหายเป็นผู้ครอบครองและใช้ประโยชน์จากรถยนต์คันดังกล่าวในฐานะผู้เช่าซื้อ
จึงเป็นผู้เสียหาย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๒ (๔) ผู้เสียหายจึงมีอำนาจร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๒ ในประมวลกฎหมายนี้
(๔) “ผู้เสียหาย”
หมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำ ผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำ นาจจัดการแทนได้ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา
๔, ๕ และ ๖
0 Comments
แสดงความคิดเห็น