คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๓๕/๒๕๖๓
จำเลยไม่มีหน้าที่ในการคัดเลือกหรือบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในองค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาล
อีกทั้งโจทก์ร่วมมิได้มีเจตนาตั้งแต่แรกที่จะไปติดต่อจำเลยเพื่อขอให้ช่วยฝากโจทก์ร่วมเข้าทำงานรับราชการในส่วนราชการดังกล่าว
การที่โจทก์ร่วมมอบเงินให้แก่จำเลยล้วนเกิดขึ้นเพราะถูกจำเลยหลอกลวง
ถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมเป็นผู้ก่อให้จำเลยกระทำความผิด
โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยมีสิทธิร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดฐานฉ้อโกงได้
ตามฎีกานี้
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “กรณีฟังได้ว่าโจทก์ร่วมได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ
จึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องคดีในข้อหานี้ได้”
อ่านเพิ่มเติม ฎีกาที่ ๕๖๘๒/๒๕๖๒
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๒ ในประมวลกฎหมายนี้
(๔) “ผู้เสียหาย”
หมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำ ผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำ นาจจัดการแทนได้ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา
๔, ๕ และ ๖
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๓๔๑ ผู้ใดโดยทุจริต
หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ
หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง
และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม
หรือ ทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
0 Comments
แสดงความคิดเห็น