คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๕๐/๒๕๖๓
พฤติการณ์ที่ ร.
ไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๒๒ (๓) (๔)
โดยขับรถบรรทุกคันที่จำเลยรับประกันภัยฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจร
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลากลางคืนซึ่งมองเห็นได้ยาก
ถือได้ว่าประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ซึ่งแม้ ฤ. จะขับรถผ่านสี่แยกที่เกิดเหตุด้วยความเร็วโดยมิได้ลดความเร็วของรถลง
แม้เป็นการไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๗๐
และมีส่วนประมาทอยู่ด้วย แต่หาก ร. ไม่ขับรถบรรทุกและรถพ่วงคันที่จำเลยรับประกันภัยฝ่าสัญญาณไฟจราจร
เชื่อว่าอุบัติเหตุครั้งนี้ก็คงไม่เกิดขึ้น ดังนั้นการที่ ร.
ขับรถบรรทุกและรถพ่วงฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจรถือได้ว่าเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้รถเฉียวชนกันและ
ร. มีส่วนประมาทมากกว่า ฤ. อยู่มาก
เพิ่มเติม
ฎีกาที่
๗๑๗๓/๒๕๕๘ ป.พ.พ. มาตรา ๔๔๒ บัญญัติว่า “ถ้าความเสียหายได้เกิดขึ้นเพราะความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดของผู้ต้องเสียหายประกอบด้วยไซร้
ให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา ๒๒๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลม” และมาตรา ๒๒๓ บัญญัติว่า “ถ้าฝ่ายผู้เสียหายได้มีส่วนทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งก่อให้เกิดความเสียหายด้วยไซร้
ท่านว่าหนี้อันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ฝ่ายผู้เสียหายมากน้อยเพียงใดนั้น
ต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ข้อสำคัญก็คือว่าความเสียหายนั้นได้เกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากัน
เพียงไร...” บทบัญญัติดังกล่าวเป็นการกำหนดความรับผิดและค่าเสียหายต่อกันโดยให้ศาลพิจารณาถึงพฤติการณ์ว่าฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อความเสียหายยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงใด
ซึ่งต้องถือเอาการกระทำละเมิดมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา
หาได้ถือเอาความเสียหายมากน้อยเป็นเกณฑ์ไม่ หากต่างฝ่ายต่างกระทำละเมิดต่อกันและมีส่วนประมาทพอกัน
แล้ว ก็ไม่อาจเรียกค่าเสียหายต่อกันได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๔๔๒
ถ้าความเสียหายได้เกิดขึ้นเพราะความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดของผู้ต้องเสียหายประกอบด้วยไซร้
ท่านให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา ๒๒๓ มาใช้บังคับ โดยอนุโลม
0 Comments
แสดงความคิดเห็น