คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๓๕๐/๒๕๖๓
ผู้ตายมีส่วนก่อให้จำเลยกระทำความผิด
ผู้ตายไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยสำหรับความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตามฟ้อง
โจทก์ร่วมซึ่งเป็นภริยาของผู้ตายย่อมไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๕ (๒) และไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๓๐
ตามฎีกานี้
ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า ผู้ตายมีส่วนก่อให้จำเลยกระทำความผิด ผู้บุพการี
ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยา ย่อมไม่มีอำนาจจัดการแทน ตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๕ (๒)
เพิ่มเติม
ฎีกาที่
๙๘๖๖/๒๕๖๐ (ประชุมใหญ่) แม้ในคดีอาญาพนักงานอัยการโจทก์บรรยายฟ้องว่า
ผู้ตายขับรถจักรยานยนต์ด้วยความเร็วสูงเกินสมควรจนไม่สามารถหยุดหรือชะลอความเร็วของรถให้ช้าลงพอที่จะขับหลบหลีกไม่ให้ชนรถคันอื่นที่จอดขวางอยู่ข้างหน้าได้ทัน
ผู้ตายหาได้ใช้ความระมัดระวังในการขับรถให้เพียงพอไม่
เป็นเหตุให้รถชนท้ายรถยนต์ที่จำเลยที่ ๑ จอดอยู่ก็ตาม
แต่เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายไปก่อนไม่ถูกพนักงานอัยการโจทก์ฟ้องเป็นจำเลยในคดีอาญา
ข้อเท็จจริงยังไม่พอฟังว่า ผู้ตายมีส่วนประมาทด้วย
ผู้ตายจึงเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒ (๔)
โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบุพการีของผู้ตายย่อมเข้าจัดการแทนผู้เสียหายได้ตามมาตรา ๕
(๒)
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๕
บุคคลเหล่านี้จัดการแทนผู้เสียหายได้
(๒) ผู้บุพการี
ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยาเฉพาะแต่ในความผิดอาญา ซึ่งผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้
0 Comments
แสดงความคิดเห็น