คำพิพากษาฎีกาที่ ๘๗๒๕/๒๕๖๑(ประชุมใหญ่)
จำเลยที่ ๒ ขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาแพ่ง
มาตรา ๕๗ (๓) เพราะเหตุที่อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยอ้างว่าจำเลยร่วมมีส่วนประมาทเลินเล่อและก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองด้วย
จำเลยร่วมให้การว่าไม่มีส่วนประมาทเลินเล่อกับจำเลยที่ ๒ คำให้การของจำเลยร่วมเป็นปฏิปักษ์ต่อจำเลยที่
๒ การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ ๒ รับผิดต่อโจทก์ทั้งสอง และยกฟ้องจำเลยร่วมเป็นการกระทบสิทธิของจำเลยที่
๒ โดยตรงแม้โจทก์ทั้งสองจะมิได้อุทธรณ์ฎีกา จำเลยที่ ๒ ก็มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาให้จำเลยร่วมรับผิดต่อโจทก์ได้
พฤติการณ์ที่จำเลยร่วมขับรถออกจากปากซอยเฉลิมพระเกียรติ
๗๙ ไปจอดรอเพื่อเลี้ยวขวาไปอีกฝั่งของถนนทั้งที่บริเวณดังกล่าวมีเครื่องหมายจราจรเขตปลอดภัย
เส้นทึบห้ามขับรถเข้าไปในพื้นที่
ทั้งจอดรถส่วนกระบะบางส่วนเข้าไปในทางเดินรถลงสะพานจึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ
หากจำเลยร่วมไม่ขับรถฝ่าเครื่องหมายจราจรไปจอดรอบริเวณดังกล่าว
เหตุเฉียวชนย่อมไม่เกิดขึ้น
เช่นนี้จำเลยร่วมจึงมีส่วนขับรถโดยประมาทเลินเล่อเป็นผลให้เกิดเหตุละเมิดคดีนี้และต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่
๒ ในเหตุละเมิดที่เกิดขึ้น สำหรับความรับผิดของจำเลยที่ ๒ และจำเลยร่วมที่มีต่อโจทก์ทั้งสองนั้น
เมื่อพิจารณาความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ ๑ ที่ขับรถด้วยความเร็วสูงในช่องเดินรถที่
๒ นับจากซ้ายขึ้นสะพานซึ่งไม่สามารถมองเห็นทางเดินรถด้านหน้าได้อย่างชัดเจน
เป็นเหตุให้จำเลยที่ ๑ ไม่สามารถควบคุมรถเมื่อขับลงสะพานให้หยุดได้ในระยะปลอดภัยเมื่อมีรถยนต์ที่จำเลยร่วมขับจอดกีดขวางอยู่
และความประมาทเลินเล่อของจำเลยร่วมที่ขับรถฝ่าฝืนเครื่องหมายจราจรบริเวณทางลงสะพานซึ่งเป็นจุดที่ผู้ขับขี่รถอื่นไม่สามารถมองเห็นทางเดินรถได้อย่างชัดเจนทั้งยังหยุดรถกีดขวางช่องเดินรถที่จำเลยที่
๑ ขับมาแล้ว ถือว่าจำเลยที่ ๑ มีส่วนประมาทเลินเล่อมากกว่าจำเลยร่วม จำเลยที่ ๒ ซึ่งต้องรับผิดในผลแห่งการกระทำละเมิดของจำเลยที่
๑ และจำเลยร่วม จึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองอย่างลูกหนี้ร่วม โจทก์ทั้งสองมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่
๒ กับจำเลยร่วมชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามส่วนความรับผิดหรือเรียกร้องให้จำเลยที่ ๒ หรือจำเลยร่วมฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งชดใช้เต็มจำนวนก็ได้
ตามฎีกานี้ จำเลยที่ ๒ ให้การตอนหนึ่งว่า
จำเลยร่วมมีส่วนขับรถประมาทก่อให้เกิดเหตุในครั้งนี้ด้วย และระหว่างพิจารณา
จำเลยที่ ๒ ยื่นคำร้องขอให้หมายเรียกจำเลยร่วม เข้ามาเป็นจำเลยร่วมตาม
ป.วิ.พ.มาตรา ๕๗ (๓) ศาลชั้นต้นอนุญาต
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา ๕๗
บุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความอาจเข้ามาเป็นคู่ความได้ด้วยการร้องสอด
(๓) ด้วยถูกหมายเรียกให้เข้ามาในคดี
(ก) ตามคำขอของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่เป็นคำร้องแสดงเหตุว่าตนอาจฟ้องหรือถูกคู่ความเช่นว่านั้นฟ้องตนได้
เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ย หรือเพื่อใช้ค่าทดแทน
ถ้าหากศาลพิจารณาให้คู่ความเช่นว่านั้นแพ้คดี หรือ (ข) โดยคำสั่งของศาลเมื่อศาลนั้นเห็นสมควร
หรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีคำขอ ในกรณีที่กฎหมายบังคับให้บุคคลภายนอกเข้ามาในคดี
หรือศาลเห็นจำเป็นที่จะเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
แต่ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง จะเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดีดังกล่าว
แล้วให้เรียกด้วยวิธียื่นคำร้องเพื่อให้หมายเรียกพร้อมกับคำฟ้องหรือคำให้การ
หรือใน เวลาใด ๆ ต่อมาก่อนมีคำพิพากษาโดยได้รับอนุญาตจากศาล
เมื่อศาลเป็นที่พอใจว่าคำร้องนั้นไม่อาจยื่นก่อนนั้นได้
การส่งหมายเรียกบุคคลภายนอกตามอนุมาตรานี้ต้องมีสำเนาคำขอ
หรือคำสั่งของศาล แล้วแต่กรณี และคำฟ้องตั้งต้นคดีนั้นแนบไปด้วย
บทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้ไม่ตัดสิทธิของเจ้าหนี้
ในอันที่จะใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้และที่จะเรียกลูกหนี้ให้เข้ามาในคดีดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
0 Comments
แสดงความคิดเห็น