คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๘๗๕๔/๒๕๔๔
ตามคำร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วมของผู้ร้องสอดไม่ปรากฏว่า
ผู้ร้องสอดมีส่วนร่วมเกี่ยวข้องกับหนี้เงินกู้และการจำนองที่ดินประกันหนี้เงินกู้ตามที่โจทก์ฟ้องบังคับคงอ้างแต่เพียงว่า
ผู้ร้องสอดเป็นภริยาจดทะเบียนสมรสกับจำเลยและอยู่ร่วมกับจำเลยเท่านั้น ผู้ร้องสอดจึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี
อีกทั้งจำเลยเองก็ขาดนัดยื่นคำให้การ ผู้ร้องสอดย่อมไม่มีสิทธิในการต่อสู้คดีเช่นเดียวกับจำเลยที่ขาดนัด
การร้องสอดเข้ามาเพื่อเป็นจำเลยร่วมหรือแทนที่จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา ๕๗ (๒) ย่อมหาประโยชน์มิได้ ที่ศาลล่างมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้าเป็นจำเลยร่วมนั้นชอบแล้ว
ข้อสังเกต
๑.ผู้ร้องไม่มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี
๒.จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ
ผู้ร้องสอดย่อมไม่มีสิทธิในการต่อสู้คดีเช่นเดียวกัน
ฎีกาที่
๙๙๖/๒๕๔๙ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระค่าจ้างก่อสร้างแก่โจทก์ จำเลยที่
๑ และที่ ๔ ขาดนัดยื่นคำให้การ ต่อมาโจทก์ได้ถอนฟ้องจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ หลังจากนั้น
จำเลยที่ ๒ ได้ยื่นคำร้องสอดเข้ามาเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยที่ ๑ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา
๕๗ (๒) จึงต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิอย่างอื่นนอกจากสิทธิที่มีอยู่ของจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นคู่
ความฝ่ายที่ตนเข้าเป็นจำเลยร่วมตามมาตรา ๕๘ วรรคสอง ฉะนั้น เมื่อจำเลยที่ ๑ ไม่ยื่นคำให้การจนศาลสั่งว่าจำเลยที่
๑ ขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยที่ ๒ ย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำให้การของตนเข้ามาอันเป็นการใช้สิทธินอกเหนือจากที่จาเลยที่
๑ มีอยู่ได้ การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับคำให้การของจำเลยที่ ๒ จึงเป็นการผิดหลง
ศาลชั้นต้นชอบที่จะเพิกถอนคำสั่งรับคำให้การของจำเลยที่ ๒ แล้วสั่งไม่รับคำให้การของจำเลยที่
๒ ให้ถูกต้องได้ ตามมาตรา ๒๗ วรรคหนึ่ง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา ๕๗
บุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความอาจเข้ามาเป็นคู่ความได้ด้วยการร้องสอด
(๒) ด้วยความสมัครใจเองเพราะตนมีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีนั้น[1]โดยยื่นคำร้องขอต่อศาลไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนมีคำพิพากษา ขออนุญาตเข้าเป็นโจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วม หรือเข้าแทนที่คู่ความ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียทีเดียวโดยได้รับความยินยอมของคู่ความฝ่ายนั้น แต่ว่าแม้ศาลจะได้อนุญาตให้เข้าแทนที่กันได้ก็ตาม คู่ความฝ่ายนั้นจำต้องผูกพันตนโดยคำพิพากษาของศาลทุกประการเสมือนหนึ่งว่ามิได้มีการเข้า แทนที่กันเลย
[1] หมายความว่า ผลของคดีตามกฎหมายจะเป็นผลไปถึงตน(ฎีกาที่ ๔๕๐๗/๒๕๖๑)
0 Comments
แสดงความคิดเห็น