คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๖๒๔/๒๕๖๒
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๒๘๘ จำคุก ๒๐ ปี ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๗๘ คงจำคุก ๑๓
ปี ๔ เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค ๓ พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่น จำคุก
๑๕ ปี ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๗๘ คงจำคุก ๑๐ ปี
เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค ๓ พิพากษาแก้เฉพาะโทษที่ลงแก่จำเลยเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกินห้าปี
ต้องห้ามมิให้โจทก์ซึ่งหมายความถึงโจทก์ร่วมด้วยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๒๑๘ วรรคสอง
คดีในส่วนอาญาต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๑๘ วรรคสอง และ เป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค
๓ ฎีกาในคดีส่วนแพ่งของโจทก์ร่วมที่ขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ร่วมเพิ่มขึ้น
เมื่อโจทก์ร่วมยื่นฎีกาโดยมิได้ยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกามาพร้อมฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา ๒๔๗ วรรคสอง เป็นการไม่ชอบ
แม้ศาลชั้นต้นรับฎีกาของโจทก์ร่วมมาก็เป็นการมิชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตามฎีกานี้ โจทก์ร่วมต้องขออนุญาตฎีกาในส่วนอาญาตาม
ป.วิ.อ.มาตรา ๒๒๑ และส่วนแพ่งตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๒๔๗
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๒๒๑ ในคดีซึ่งห้ามฎีกาไว้โดยมาตรา
๒๑๘, ๒๑๙ และ ๒๒๐ แห่งประมวลกฎหมายนี้
ถ้าผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณา หรือลงชื่อในคำ พิพากษาหรือทำ ความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์พิเคราะห์เห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำ คัญอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกา
หรืออธิบดีกรมอัยการลงลายมือชื่อรับรองในฎีกาว่ามีเหตุอันควรที่ศาลสูงสุดจะได้วินิจฉัย
ก็ให้รับฎีกานั้นไว้พิจารณาต่อไป
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา ๒๔๗ การฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์
ให้กระทำได้เมื่อได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
การขออนุญาตฎีกา ให้ยื่นคำร้องพร้อมกับคำฟ้องฎีกาต่อศาลชั้นต้นที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีนั้นภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ แล้วให้ศาลชั้นต้นรีบส่งคำร้องพร้อมคำฟ้องฎีกาดังกล่าวไปยังศาลฎีกา และให้ศาลฎีกาพิจารณาวินิจฉัยคำร้องให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว
0 Comments
แสดงความคิดเห็น