คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๔๘๔๑/๒๕๖๐
แม้ต้นปาล์มและต้นมะพร้าวโจทก์ทั้งสองจะปลูกไว้
แต่เมื่อเป็นไม้ยืนต้น จึงเป็นส่วนควบของที่ดินพิพาท
ผลปาล์มและต้นมะพร้าวจึงเป็นของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ไม่ใช่ของโจทก์ทั้งสอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๔๕ ดังนั้นการที่จำเลยทั้งสองเข้าไปเอาผลปาล์ม แล้วเข้าไปตัดโค่นทำลายต้นมะพร้าว จะถือว่าทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายไม่ได้
โจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้จากจำเลยทั้งสอง
ส่วนต้นกล้วยเป็นไม้ล้มลุก
ไม่เป็นส่วนควบกับที่ดิน โจทก์ทั้งสองเป็นผู้ปลูกจึงเป็นเจ้าของต้นกล้วย จำเลยทั้งสองเข้าไปโค่นทำลาย ทั้งๆ
ที่รู้แล้วว่าแม้จะปลูกอยู่ในที่พิพาทแต่ต้นกล้วยเหล่านั้นเป็นของโจทก์ทั้งสอง ตามพฤติการณ์ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของโจทก์ทั้งสองโดยไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ตามกฎหมาย เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองและเป็นการโต้แย้งสิทธิในทรัพย์สินของโจทก์ทั้งสอง
โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องและจำเลยทั้งสองต้องรับผิดในมูลละเมิดที่เกิดจากการกระทำของตน
ตามฎีกานี้
ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน
เพิ่มเติม
ฎีกาที่ ๑๓๘๐/๒๕๓๒ (
ประชุมใหญ่ ) ไม้ยืนต้นเป็นส่วนควบกับที่ดินที่ปลูกไม้นั้น แต่ถ้าไม้ยืนต้นนั้น
ผู้ปลูกมีเจตนาจะปลูกลงในที่ดินชั่วระยะเวลาอันมีจำกัดเพียงชั่วคราว
ย่อมถือได้ว่าเป็นทรัพย์ที่ติดกับที่ดินเพียงชั่วคราวไม่กลายเป็นส่วนควบ
จำเลยตกลงให้ผู้ร้องปลูกต้นสนลงในที่ดินของจำเลย เมื่อต้นสนโตเต็มที่จะตัดขายเอาเงินมาแบ่งกัน ต้นสนไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดิน
แต่เป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่าง จำเลยกับผู้ร้อง จำเลยนำที่ดินไปจำนองไว้กับโจทก์
โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับคดีเอาจากต้นสนส่วนของผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอก
ผู้ร้องมีสิทธิขอกันส่วนได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๑๔๕ ไม้ยืนต้นเป็นส่วนควบกับที่ดินที่ไม้นั้นขึ้นอยู่
ไม้ล้มลุกหรือธัญชาติอันจะเก็บเกี่ยวรวงผลได้คราวหนึ่งหรือหลายคราวต่อปีไม่เป็นส่วนควบกับที่ดิน
0 Comments
แสดงความคิดเห็น