คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๑๕/๒๕๖๓
ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาครั้งที่
๒ เมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๖๒ พ้นกำหนดที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายได้ถึงวันที่ ๓๑
กรกฎาคม ๒๕๖๒ แล้ว แม้ทนายจำเลยจะอ้างในคำร้องว่าทนายจำเลยทราบความประสงค์ของจำเลย
เมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๖๒ และการเรียบเรียงฎีกายังไม่แล้วเสร็จ
อันจะพอถือว่ามีพฤติการณ์พิเศษก็ตาม แต่ไม่เป็นเหตุสุดวิสัยที่มิอาจยื่นคำร้องก่อนสิ้นระยะเวลานั้น
ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาครั้งที่ ๒ ของทนายจำเลยจนถึงวันที่
๑๘ กันยายน ๒๕๖๒ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๓
ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๕ ฎีกาของจำเลยยื่นต่อศาลชั้นต้น
เมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๖๒ ล่วงเลยวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๒ แล้ว
เป็นฎีกาที่ยื่นเกินกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา มาตรา ๒๑๖
วรรคหนึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลย เป็นการไม่ชอบ
เพิ่มเติม
ฎีกาที่ ๘๗๓๕/๒๕๔๒ ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังเมื่อวันที่
๑๗ มีนาคม ๒๕๔๒ จึงครบกำหนดยื่นฎีกาวันที่
๑๗ เมษายน ๒๕๔๒ ซึ่งเป็นวันเสาร์หยุดราชการแม้โจทก์จะมีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาในวันที่
๑๙ เมษายน ๒๕๔๒ ซึ่งเป็นวันที่เริ่มทำการใหม่ได้ก็ตาม แต่การนับระยะเวลาที่ขอขยายออกไป ก็ต้องนับต่อจากวันสุดท้ายที่ครบกำหนดระยะเวลาเดิมคือเริ่มนับหนึ่งตั้งแต่วันที่
๑๘ เมษายน ๒๕๔๒ เมื่อโจทก์ขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา ๓ วัน และศาลชั้นต้นอนุญาต
จึงครบกำหนดในวันที่ ๒๐ เมษายน
๒๕๔๒ โจทก์ยื่นฎีกาในวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๔๒ จึงล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้แล้ว
ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๔๗ ประกอบมาตรา ๒๓
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ป.วิ.อ.มาตรา ๑๕, ๒๑๖ วรรคหนึ่ง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา ๒๓
เมื่อศาลเห็นสมควรหรือมีคู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ยื่นคำ ขอโดยทำ เป็นคำ ร้อง ให้ศาลมีอำ นาจที่จะออกคำ สั่งขยายหรือย่นระยะเวลาตามที่กำ หนดไว้ในประมวลกฎหมายนี้หรือตามที่ศาลได้กำ หนดไว้
หรือระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความแพ่งอันกำ หนดไว้ในกฎหมายอื่น เพื่อให้ดำ เนินหรือมิให้ดำ เนินกระบวนวิธีพิจารณาใด
ๆ ก่อนสิ้นระยะเวลานั้นแต่การขยายหรือย่นเวลาเช่นว่านี้ให้พึงทำ ได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ
และศาลได้มีคำสั่งหรือคู่ความมีคำ ขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้น
เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย
0 Comments
แสดงความคิดเห็น