คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๕๔๒/๒๕๖๒
ผู้ร้องและผู้คัดค้านตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความ
และศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมแล้ว
คำพิพากษายอมของศาลชั้นต้นย่อมผูกพันผู้ร้องและผู้คัดค้าน
และเมื่อคดีไม่มีการอุทธรณ์ฎีกาคำพิพากษาตามยอมของศาลชั้นต้น
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกเลิกสัญญาประนีประนอมยอมความที่มีคำพิพากษาตามยอมแล้วมีคำพิพากษาคดีใหม่มิใช่การพิจารณาคดีใหม่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาตามยอมของศาลชั้นต้นจึงไม่อาจเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับหรืองดเสียได้
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๕ วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจยกเลิกสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมแล้วมีคำพิพากษาใหม่
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๒ (๕)
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายตั้งเจ้าพนักงาน
บังคับคดี ต่อมาผู้ร้องและผู้คัดค้านแถลงต่อศาลชั้นต้นว่าไม่สามารถ
ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้เนื่องจากจำนวนเงินที่จะ
ให้ผู้ร้องไปไถ่ถอนจำนองพร้อมกับผู้คัดค้านไม่ตรงกัน ขอยกเลิกสัญญา
ประนีประนอมยอมความนั้นเป็นเรื่องในชั้นบังคับคดี
มิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความไม่เป็นไปตามความประสงค์ของคู่ความ
ทั้งหากผู้ร้องและผู้คัดค้านเห็นว่าเป็นกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตาม
สัญญาประนีประนอมยอมความได้ หรือสัญญาประนีประนอมยอมความไม่มีผลบังคับหรือไม่
อย่างไร เป็นเรื่องที่ผู้ร้องและผู้คัดค้านจะต้องว่ากล่าวกันต่อไป
เพิ่มเติม
ฎีกาที่ ๒๐๔๕/๒๕๒๖
แม้โจทก์คดีนี้เป็นคนละคนกับโจทก์ในคดีเดิม แต่โจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทสืบต่อมาจากโจทก์ในคดีเดิม
และจำเลยเป็นคู่ความคนเดียวกับจำเลยในคดีเดิม
คำพิพากษาในคดีเดิมที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทจึงมีผลผูกพันจำเลยในคดีนี้ด้วย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา ๑๔๕ วรรคหนึ่ง
“มาตรา ๑๔๕ ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยการอุทธรณ์ฎีกา
และการพิจารณาใหม่ คำพิพากษาหรือคำสั่งใด ๆ
ให้ถือว่าผูกพันคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาหรือมีคำสั่ง
นับตั้งแต่วันที่ได้พิพากษาหรือมีคำสั่ง
จนถึงวันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับหรืองดเสีย ถ้าหากมี”
มาตรา ๑๔๒ คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลที่ชี้ขาดคดีต้องตัดสินตามข้อหาในคำฟ้องทุกข้อ
แต่ห้ามมิให้พิพากษาหรือทำคำสั่งให้สิ่งใด ๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
เว้นแต่
(๕)
ในคดีที่อาจยกข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นอ้างได้นั้น
เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลจะยกข้อเหล่านั้นขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปก็ได้
0 Comments
แสดงความคิดเห็น