คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๕๗๒/๒๕๖๓
ผู้ร้องสอดทั้งสามเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของ
ก. กับ ฐ. ผู้ร้องสอดทั้งสามจึงเป็นทายาทมีสิทธิได้รับมรดกของ ก. และ ฐ.
ประกอบกับผู้ร้องสอดทั้งสามอ้างว่า ฐ.
ทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้แก่ผู้ร้องสอดทั้งสามและจำเลยซึ่งรวมถึงที่ดินพิพาทด้วย
อันเป็นการกล่าวอ้างว่าผู้ร้องสอดทั้งสามเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท มีส่วนได้เสียในคดี
ส่วนคดีที่โจทก์ฟ้องผู้ร้องสอดทั้งสาม และจำเลยขอให้เพิกถอนพินัยกรรมของ ฐ.
ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์และศาลฎีกามีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความของศาลฎีกา
คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์และคำสั่งของศาลฎีกาย่อมผูกพันโจทก์และผู้ร้องสอดทั้งสาม
เมื่อคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกของ ก.
และคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น
ผู้ร้องสอดทั้งสามเป็นผู้มีส่วนได้เสียในมูลความแห่งคดี
มีสิทธิร้องขอเข้ามาในคดีเพื่อให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง
หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ได้ กรณีมีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องสอดทั้งสามเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามในคดีนี้
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๕๗ (๑)
ตามฎีกานี้ จำเลยถูกฟ้องในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้จัดการมรดกของ
ก.
เพิ่มเติม
ฎีกาที่ ๔๔๑๐/๒๕๔๒
ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๕๗ (๑)
คำร้องดังกล่าวเป็นคำฟ้อง ซึ่งถือเป็นคำคู่ความ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง
มีผลเป็นการไม่รับ คำร้องสอด คำสั่งศาลชั้นต้นจึงเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตาม
มาตรา ๒๒๗ และไม่ถือเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ผู้ร้องสอด ย่อมอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันมีคำสั่งเป็นต้นไปตามมาตรา
๒๒๙
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๑๗๔๙ ถ้ามีคดีฟ้องเรียกทรัพย์มรดก
ผู้ซึ่งอ้างว่าตนเป็นทายาทมีสิทธิในทรัพย์มรดกนั้น จะร้องสอดเข้ามาในคดีก็ได้
0 Comments
แสดงความคิดเห็น