คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๘๔๘๘/๒๕๖๑
คดีนี้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค ๕
พิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๒๒๐
ข้อห้ามมิให้ฎีกาเช่นว่านี้
ย่อมห้ามมิให้ฎีกาทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมาย
เว้นแต่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิเคราะห์เห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกา
เมื่อปรากฏตามคำร้องของโจทก์ที่ร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค
๕ พิจารณาอนุญาตให้โจทก์ฎีการะบุชัดเจนเจาะจงว่า
โจทก์ประสงค์ขอให้ผู้พิพากษาดังกล่าวพิจารณาอนุญาตให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเท่านั้น
ดังนั้น
การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำร้องของโจทก์แล้วมีคำสั่งว่า
ข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดจึงอนุญาตให้ฎีกา
ย่อมมีผลเท่ากับเป็นการอนุญาตให้โจทก์ฎีกาเฉพาะในปัญหาข้อเท็จจริงตามความประสงค์ของโจทก์หาได้มีผลเป็นการอนุญาตให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายแต่อย่างใดไม่
เมื่อโจทก์ฎีกาว่าศาลอุทธรณ์ภาค ๕ วินิจฉัยนอกคำฟ้องและนอกสำนวนหรือไม่นั้น
อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย จึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เพิ่มเติม
ฎีกาที่ ๙๐๖๐/๒๕๕๘
ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยที่ ๒ เฉพาะในความผิดตาม ป.อ. มาตรา ๑๙๙ ประกอบมาตรา ๘๓
เพียงข้อเดียว ข้อหาอื่นนอกจากนี้ให้ยก โจทก์และโจทก์ร่วมอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยที่
๒ ตามฟ้อง ศาลอุทธรณ์ภาค ๖ พิพากษายืน จึงมีผลเท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค ๖
ต่างพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ ๒ ในความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ.
มาตรา ๒๘๘ ประกอบมาตรา ๘๓ ดังกล่าว โดยอาศัยข้อเท็จจริง โจทก์ร่วมฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่
๒ ในความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา ๒๘๘ ประกอบมาตรา ๘๓ อีกไม่ได้
เพราะต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๒๒๐
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๒๒๐
ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในคดีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์
0 Comments
แสดงความคิดเห็น