คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๑๙๐/๒๕๖๓
ในชั้นพิจารณาโจทก์ไม่ได้ตัวผู้เสียหายที่
๑ มาเบิกความ เป็นพยาน คงมีเพียงบันทึกคำให้การของผู้เสียหายที่ ๑
ที่ให้การยืนยันถึงตัวคนร้ายที่ร่วมกันข่มขืนกระทำชำเรา และชี้ภาพถ่ายว่าจำเลยเป็นผู้ร่วมข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายที่
๑ เป็นคนสุดท้าย อันเป็นเพียงพยานบอกเล่า
ซึ่งในการวินิจฉัยพยานบอกเล่าที่จำเลยไม่มีโอกาสถามค้าน
ศาลจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๒๗/๑
ก็ตาม แต่ผู้เสียหายที่ ๑ รับหมายเรียกให้มาเป็นพยานที่ศาล
เมื่อถึงวันนัดกลับไม่มาและไม่ได้แจ้งเหตุขัดข้อง
ศาลชั้นต้นจึงออกหมายจับเพื่อเอาตัวมาเป็นพยาน แต่ไม่ได้ตัวมาจนต้องงดสืบพยาน
พฤติการณ์ในการหลบหนีและไม่ยอมมาเบิกความในชั้นพิจารณาของผู้เสียหายที่ ๑
จึงมีเหตุจำเป็น และมีเหตุผลสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะรับฟังพยานบอกเล่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๒๒๖/๓ วรรคสอง (๒)
และถือได้ว่ามีเหตุอันสมควรที่จะรับฟังบันทึกคำเบิกความของผู้เสียหายที่ ๑
ที่เบิกความไว้ในคดีอาญาของศาลชั้นต้นที่พวกจำเลยถูกฟ้องเป็นจำเลย ประกอบพยานหลักฐานอื่นในคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๒๒๖/๕
เพิ่มเติม
ฎีกาที่ ๓๕๐๖/๒๕๖๒
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๒๒๖/๕ บัญญัติว่า “ในชั้นพิจารณาหากมีเหตุจำเป็นหรือเหตุอันสมควร
ศาลอาจรับฟังบันทึกคำเบิกความในชั้นไต่สวนมูลฟ้องหรือบันทึกคำเบิกความของพยานที่เบิกความไว้ในคดีอื่น
ประกอบพยานหลักฐานอื่นในคดีได้” ตามบทบัญญัติดังกล่าวจะเห็นได้ว่า
ศาลอาจรับฟังบันทึกคำเบิกความของพยานที่เบิกความไว้ในคดีอื่นมาประกอบพยานหลักฐานอื่นในคดีได้
เฉพาะกรณีที่มีเหตุจำเป็นหรือเหตุอันสมควร
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๒๒๖/๕
ในชั้นพิจารณาหากมีเหตุจำเป็นหรือเหตุอันสมควร
ศาลอาจรับฟังบันทึกคำเบิกความในชั้นไต่สวนมูลฟ้องหรือบันทึกคำเบิกความของพยานที่เบิกความไว้ในคดีอื่นประกอบพยานหลักฐานอื่นในคดีได้
0 Comments
แสดงความคิดเห็น