คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๒๐๔/๒๕๖๔
แม้ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินที่
ส. ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ ส.
ไม่อาจนำไปโอนขายให้แก่บุคคลใดรวมทั้งโจทก์ร่วม การที่ ส.
ผิดเงื่อนไขการอนุญาตให้ทำประโยชน์จะ ทำให้ ส.
สิ้นสิทธิการทำประโยชน์ในที่ดินที่ได้รับมอบจากสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือไม่
อย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะดำเนินการกับ ส.
ตามพระราช บัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ ต่อไป
แต่โจทก์ร่วมเข้าไปปลูกต้นยางพาราในที่ดินพิพาทโดยได้รับความยินยอมจาก ส.
และจำเลยทั้งสองก็ทราบดีว่าโจทก์ร่วมเป็นผู้ปลูกต้นยางพารา การที่
จำเลยทั้งสองเข้าไปเอาน้ำยางจากต้นยางพาราเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเอง
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑ (๑)
การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ ร่วมกันลักทรัพย์ในเวลากลางคืน
และร่วมกันลักทรัพย์บรรดาที่เป็นผลิตภัณฑ์ พืชพันธุ์ อันได้มาจากการกสิกรรม
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๓๕ (๑) (๗) และ (๑๒)
เพิ่มเติม
ฎีกาที่ ๑๐๑๒๙/๒๕๕๗
ที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ซึ่งไม่อาจโอนให้แก่กันได้โดยชอบด้วยกฎหมาย การที่ ช.
ปลูกต้นยางพาราในที่ดินดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาต
ต้นยางพาราดังกล่าวจึงเป็นไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ไม่ใช่ทรัพย์ของ ช.
แม้ผู้เสียหายซื้อต้นยางพาราจาก ก. บุตรเขยของ ช.
ต้นยางพาราดังกล่าวก็ไม่ใช่ทรัพย์ของผู้เสียหาย
เมื่อผู้เสียหายยังไม่ได้เข้าไปกรีดเอาน้ำยางซึ่งเป็นของป่าจากต้นยางพาราดังกล่าว
จึงยังไม่มีการยึดถือเอาน้ำยางเป็นของตน
การที่จำเลยเข้าไปเอาน้ำยางจากต้นยางพาราดังกล่าวจึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ของผู้มีอาชีพกสิกรรมโดยผู้เสียหายตาม
ป.อ. มาตรา ๓๓๕ (๑๒) วรรคแรก
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๓๓๕ ผู้ใดลักทรัพย์
(๑๒) ที่เป็นของผู้มีอาชีพกสิกรรม บรรดาที่เป็นผลิตภัณฑ์ พืชพันธุ์ สัตว์หรือเครื่องมืออันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมหรือได้มาจากการกสิกรรมนั้น
0 Comments
แสดงความคิดเห็น