คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๖๒/๒๕๖๔
ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๒ และมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลายื่นฎีกาลงชื่ออนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีที่ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๑๘ วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธี
พิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. ๒๔๙๙ และพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด
พ.ศ. ๒๕๒๐ มาตรา ๓ การอนุญาตให้ฎีกาเป็นการไม่ชอบ
เพราะมิใช่ผู้พิพากษาที่พิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้น
จึงไม่อาจอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๒๒๑
เพิ่มเติม
ฎีกาที่
๗๔๗๒/๒๕๖๒ ตามคำร้องของจำเลยเพียงขอให้ผู้พิพากษาสองคนที่ลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้น
คือ ม. และ ร. อนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง โดยไม่ได้ระบุถึงผู้พิพากษาคนอื่นที่ลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
เมื่อผู้พิพากษาทั้งสองคนที่ลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงแล้วก็ชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลย
แต่ศาลชั้นต้นกลับส่งคำร้องไปยังศาลอุทธรณ์และ ก.
ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงโดยลำพัง
จึงหามีผลให้เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ อาญา มาตรา ๒๒๑
อันจะส่งผลตามกฎหมายให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ไม่
เพราะมิได้ต้องด้วยความประสงค์ของจำเลยและมิได้ผ่านหลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา ๒๒๔ วรรคท้าย ประกอบมาตรา ๒๕๒ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๕
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้รับฎีกาของจำเลยจึงไม่ชอบ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๒๒๑ ในคดีซึ่งห้ามฎีกาไว้โดยมาตรา ๒๑๘,
๒๑๙ และ ๒๒๐ แห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณา หรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์พิเคราะห์เห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกา
หรืออธิบดีกรมอัยการลงลายมือชื่อรับรองในฎีกาว่ามีเหตุอันควรที่ศาลสูงสุดจะได้วินิจฉัย
ก็ให้รับฎีกานั้นไว้พิจารณาต่อไป
0 Comments
แสดงความคิดเห็น