คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๐๑๔/๒๕๖๔ ตอนที่ ๑๐ หน้า ๒๕๘๘
ตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน
พ.ศ. ๒๕๔๓ บัญญัติเรื่องการโอนใบอนุญาตจัดสรรที่ดินไว้ในมาตรา ๓๘ แม้มาตรา ๓๙
บัญญัติผลแห่งการโอนใบอนุญาตว่า “เมื่อได้โอนใบอนุญาตให้แก่ผู้รับโอนแล้ว
ให้บรรดาสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนซึ่งมีต่อผู้ซื้อที่ดินจัดสรรตกไปยังผู้รับโอน”
ก็ตามแต่เจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติดังกล่าวเพื่อกำหนดมาตรการคุ้มครองผู้ซื้อที่ดินจัดสรรโดยเฉพาะการได้สิทธิในที่ดินจัดสรรและการกำหนดให้มีผู้รับผิดชอบบำรุงรักษาสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ
ส่วนบ้านเรือนที่ปลูกสร้างในที่ดินที่จัดสรรย่อมเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ซื้อที่ดินจัดสรร
ซึ่งยังคงมีนิติสัมพันธ์ตามสัญญาซื้อขายกับผู้ขาย หาได้โอนไปตามมาตรา ๑
แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งโอนไปเฉพาะสิทธิและหน้าที่ในฐานะผู้ได้รับอนุญาตให้จัดสรรที่ดิน
แต่ไม่หมายรวมถึงสิทธิ หน้าที่และ ความรับผิดชอบของจำเลยที่ ๑
ที่มีอยู่ตามข้อสัญญาจะซื้อจะขาย ซึ่งเป็นเรื่องที่อยู่ภายในบังคับของประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต่างหากจากพระราชบัญญัติจัดสรรที่ดินฯ ดังนั้นบรรดาสิทธิ
หน้าที่และความรับผิดที่จำเลยที่ ๑ มีต่อโจทก์ตาม
สัญญาจะซื้อจะขายฉบับดังกล่าวจึงยังคงมีอยู่ทุกประการ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่
๑ เมื่ออาคารพาณิชย์ที่จำเลยที่ ๑
ขายให้แก่โจทก์มีความชำรุดบกพร่อง จำเลยที่ ๑ จึงต้องรับผิดต่อโจทก์
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา ๕๕ เมื่อมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้น
เกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลใดตามกฎหมายแพ่ง
หรือบุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาล
บุคคลนั้นชอบที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลส่วนแพ่งที่มีเขตอำนาจได้
ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายแพ่งและประมวลกฎหมายนี้
0 Comments
แสดงความคิดเห็น