คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๑๒/๒๕๖๕ ตอนที่ ๔ หน้า ๘๗๓
คำพิพากษาของศาลที่ให้เพิกถอนรายการจดทะเบียนการให้ในสารบัญการจดทะเบียนท้ายโฉนดที่ดินพิพาท
เจ้าพนักงานที่ดินสามารถดำเนินการได้เองตามประมวลกฎหมายที่ดิน และที่ดินพิพาท
ย่อมกลับมีชื่อของเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมโดยผลของคำพิพากษา
ไม่มีสิ่งใดที่จะต้องบังคับให้จำเลยต้องปฏิบัติโดยการแสดงเจตนาอีก
เช่นนี้ศาลไม่จำต้องสั่งให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลย
เพิ่มเติม
ฎีกาที่ ๖๖๖๓/๒๕๕๘
การขอให้บังคับตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนรายการจดทะเบียนขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่
๑ ออกจากสารบัญจดทะเบียนตามโฉนดที่ดิน
และให้จำเลยทั้งสองร่วมกันส่งมอบโฉนดที่ดินแก่โจทก์
มิใช่เป็นการบังคับคดีที่ต้องดำเนินการโดยทางเจ้าพนักงานบังคับคดีตามที่บัญญัติไว้ใน
ป.วิ.พ.
และไม่มีกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องขอต่อศาลเพื่อให้ออกหมายบังคับคดีตาม
ป.วิ.พ. มาตรา ๒๗๕ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ออกหมายบังคับคดีแก่โจทก์จึงไม่ถูกต้อง
แต่การเพิกถอนรายการจดทะเบียนขายที่ดินตามคำพิพากษาของศาลดังกล่าว
เป็นกรณีที่ได้มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ให้แก่จำเลยที่
๑ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่ง ป.ที่ดิน มาตรา ๖๑ วรรคหนึ่ง
บัญญัติให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายซึ่งดำรงตำแหน่งรองอธิบดีหรือผู้ตรวจราชการกรมที่ดินมีอำนาจหน้าที่สั่งเพิกถอนหรือแก้ไขได้
และตามวรรคแปดของบทบัญญัติเดียวกัน บัญญัติว่า "ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดให้เพิกถอนหรือแก้ไขอย่างใดแล้ว
ให้เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นตามวิธีการที่อธิบดีกำหนด"
ดังนั้น
การบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลที่ให้เพิกถอนรายการจดทะเบียนขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่
๑ ออกจากสารบัญจดทะเบียนตามโฉนดที่ดินนั้น โจทก์จึงชอบที่จะร้องขอต่อเจ้าพนักงานที่ดินให้ดำเนินการตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นได้ก็ต่อเมื่อคำพิพากษานั้นถึงที่สุดเป็นต้นไป
และที่ว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุด
ก็ย่อมมีความหมายว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดทั้งคดี
เมื่อนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุดยังไม่ล่วงพ้นกำหนดเวลาสิบปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา ๒๗๑ โจทก์จึงยังมีสิทธิร้องขอให้บังคับคดีได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๒๑๓
ถ้าลูกหนี้ละเลยเสียไม่ชำระหนี้ของตน
เจ้าหนี้จะร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับชำระหนี้ก็ได้
เว้นแต่สภาพแห่งหนี้จะไม่เปิดช่องให้ทำเช่นนั้นได้
เมื่อสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้ได้
ถ้าวัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำการอันหนึ่งอันใด
เจ้าหนี้จะร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับให้บุคคลภายนอกกระทำการอันนั้นโดยให้ลูกหนี้เสียค่าใช้จ่ายให้ก็ได้
แต่ถ้าวัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งไซร้ ศาลจะสั่งให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของลูกหนี้ก็ได้
ส่วนหนี้ซึ่งมีวัตถุเป็นอันจะให้งดเว้นการอันใด
เจ้าหนี้จะเรียกร้องให้รื้อถอนการที่ได้กระทำลงแล้วนั้นโดยให้ลูกหนี้เสียค่าใช้จ่าย
และให้จัดการอันควรเพื่อกาลภายหน้าด้วยก็ได้
อนึ่งบทบัญญัติในวรรคทั้งหลายที่กล่าวมาก่อนนี้
หากระทบกระทั่งถึงสิทธิที่จะเรียกเอาค่าเสียหายไม่
0 Comments
แสดงความคิดเห็น