คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๖๘/๒๕๖๕
หลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้น
ต้องมีข้อความที่แสดงให้เห็นว่าบุคคลใดเป็นผู้กู้ยืม
กู้ยืมกันเป็นจำนวนเท่าใดและผู้กู้ยืมได้ลงลายมือชื่อไว้ในเอกสารดังกล่าว
งบการเงินมีข้อความเพียงว่า กรรมการของจำเลยร่วมกู้ยืมเงินจากจำเลยร่วม ๑,๕๐๐,๐๐๐ บาท ไม่มีข้อความที่แสดงว่าจำเลยที่ ๑
หรือจำเลยที่ ๒ คนใดคนหนึ่งหรือจำเลยทั้งสองเป็นผู้กู้ยืม
แม้จำเลยทั้งสองเป็นกรรมการของจำเลยร่วม แต่ขณะนั้นจำเลยร่วมมีกรรมการรวม ๓ คน คือ
จำเลยทั้งสองและบุคคลอื่นอีก ๑ คน
กรรมการซึ่งเป็นผู้กู้ยืมเงินในงบการเงินไม่อาจแปลความหมายได้ว่าหมายถึงจำเลยทั้งสอง
งบการเงินจึงไม่ใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินที่จำเลยทั้งสองลงลายมือชื่อในฐานะผู้กู้ยืมเป็นสำคัญ
โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้กู้ยืม
เพิ่มเติม
ฎีกาที่ ๑๑๖๓๗/๒๕๕๖
เช็คพิพาททั้งสี่ฉบับมิได้มีคำว่ากู้หรือยืมเลย
และอ่านข้อความในเช็คพิพาททั้งหมดก็ไม่มีข้อความใดเลยที่ส่อแสดงให้รู้ได้ว่าเป็นการกู้ยืมเงินกัน
อีกทั้งสภาพของเช็คก็เป็นการใช้เงิน ไม่ใช่การกู้หรือยืมเงิน
เช็คพิพาททั้งสี่ฉบับจึงมิใช่เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๖๕๓ การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น
ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ
จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่
ในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น
ท่านว่าจะนำสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว
หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว
0 Comments
แสดงความคิดเห็น