คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๐๒/๒๕๖๕
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งสำเนาอุทธรณ์ของจำเลยให้แก่พนักงานอัยการโจทก์แก้
โดยมิได้มีคำสั่งให้ส่งแก่โจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการโจทก์แก้
ย่อมทำให้โจทก์ร่วมซึ่งมีฐานะเป็นโจทก์ด้วยกันเสียสิทธิในการทำคำแก้อุทธรณ์ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๘ จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา มาตรา
๒๐๐
เป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอันว่าด้วยอุทธรณ์
ศาลฎีกาพิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๘ ให้ศาลชั้นต้นส่งสำเนาอุทธรณ์ของจำเลยให้โจทก์ร่วมแก้
แล้วส่งให้ ศาลอุทธรณ์ภาค ๘ พิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
เพิ่มเติม
ฎีกาที่
๓๒๔๔/๒๕๖๓ ป.วิ.อ. มาตรา ๒๐๐ บัญญัติว่า
ให้ศาลส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งแก้ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับสำเนาอุทธรณ์
ซึ่งเป็นการบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะพิเศษสำหรับคดีอาญาและหากมีการดำเนินการไม่ถูกต้องอย่างไร
มาตรา ๑๙๕ วรรคสอง ก็บัญญัติรองรับไว้ด้วยว่า
ข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
หรือที่เกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้อันว่าด้วยอุทธรณ์
เหล่านี้ผู้อุทธรณ์หรือศาลยกขึ้นอ้างได้ แสดงให้เห็นว่า
เป็นกรณีที่ไม่อาจนำเรื่องการเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตามมาตรา ๒๗ แห่ง
ป.วิ.พ. มาใช้บังคับได้
จำเลยที่
๑ จึงมีสิทธิยื่นคำร้อง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค ๑ มีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลยที่ ๑
เพราะไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะมีคำสั่งให้เพิกถอนตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๒๗
จึงไม่ชอบการส่งสำเนาอุทธรณ์ไปยังที่อยู่ของจำเลยที่ ๑ ตามที่ระบุในคำฟ้อง
แม้ผู้รับจะมีอายุไม่ถึง ๒๐ ปี อันจะทำให้รับฟังว่าเป็นการส่งไม่ชอบก็ตาม
แต่เมื่อจำเลยที่ ๑ ไม่อยู่ตามที่อยู่ดังกล่าวในช่วงที่มีการส่งสำเนาอุทธรณ์
และพบว่าจำเลยที่ ๑ ได้กระทำผิดในคดีอื่น กรณีจึงถือได้ว่า
การส่งสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยที่ ๑ ไม่ได้ เพราะหาตัวไม่พบ หรือหลบหนี
หรือจงใจไม่รับสำเนาอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๒๐๑
ซึ่งกำหนดให้ศาลรีบส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อทำการพิจารณาพิพากษาต่อไป
การดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนของการส่งสำเนาอุทธรณ์จึงเป็นไปโดยชอบแล้ว
ประมวลกฎหมายอวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา
๒๐๐
ให้ศาลส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งแก้ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับสำเนาอุทธรณ์
0 Comments
แสดงความคิดเห็น