คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๓๗๒/๒๕๖๕
แม้จําเลยขาดนัดยื่นคำให้การและไม่มีประเด็นว่าหนี้เงินกู้ขาดอายุความแล้วหรือไม่ที่ศาลจะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ก็ตาม
แต่ในส่วนของหนี้จํานองนั้น เมื่อหนี้เงินกู้ขาดอายุความ
กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๗๔๕
ที่บัญญัติให้สิทธิเจ้าหนี้ผู้รับจํานองสามารถบังคับเอากับทรัพย์จํานองได้แม้หนี้ประธานขาดอายุความ
แต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชําระในการจำนองเกินกว่าห้าปีไม่ได้
ดอกเบี้ยเกินกว่าห้าปีที่ผู้รับจํานองไม่ต้องรับผิดเป็นบทบังคับไม่ให้ลูกหนี้ผู้จํานองต้องรับผิดชําระดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๒ (๕) ประกอบพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค
พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๗
เพิ่มเติม
ฎีกาที่ ๖๑๑๙/๒๕๕๙ สิทธิเรียกร้องในกรณีหนี้เงินที่ต้องชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวดๆ
ย่อมเกิดขึ้นนับแต่ผิดนัด
อายุความฟ้องเรียกเงินตามจำนวนที่ค้างจึงต้องบังคับตามมาตรา ๑๙๓/๓๓ (๒) แห่ง
ป.พ.พ. ซึ่งมีกำหนดอายุความ ๕ ปี หาใช่อายุความ ๑๐ ปีไม่ เมื่อเริ่มนับแต่วันที่
๑๖ กรกฎาคม ๒๕๔๘ ถึงวันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองต่อศาลในวันที่ ๒๗
สิงหาคม ๒๕๕๖ จึงเกิน ๕ ปี หนี้เงินกู้อันเป็นหนี้ประธานจึงขาดอายุความ
เมื่อหนี้เงินกู้ขาดอายุความกรณีจึงต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา ๗๔๕
ที่บัญญัติให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้รับจำนองสามารถที่จะบังคับเอากับตัวทรัพย์จำนองได้แม้หนี้ประธานจะขาดอายุความแล้ว
แต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีไม่ได้
ซึ่งดอกเบี้ยที่เกินกว่าห้าปีที่ผู้จำนองไม่ต้องรับผิดนั้น
เป็นบทบังคับไม่ให้ลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้จำนองต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้
อันเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม
ป.วิ.พ. มาตรา ๑๔๕ (๕)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๗๔๕
ผู้รับจำนองจะบังคับจำนองแม้เมื่อหนี้ที่ประกันนั้นขาดอายุความแล้วก็ได้
แต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีไม่ได้
0 Comments
แสดงความคิดเห็น