จำเลยถึงแก่ความตายในระหว่างอุทธรณ์

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ป..อ.มาตรา ๓๙ (๑)

               ฎีกาที่ ๑๓๓๖๑/๒๕๕๘  คดีอาญา จำเลยถึงแก่ความตายระหว่างพิจารณาคดีของศาลฎีกา สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๓๙ () จึงให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ สำหรับคดีส่วนแพ่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๔๒ หากครบกำหนดหนึ่งปีนับแต่จำเลยถึงแก่ความตาย ไม่มีบุคคลใดร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความแทน หรือเข้ามาตามหมายเรียกของศาลก็ให้ศาลชั้นต้นจำหน่ายคดีเสียจาก     สารบบความ

               หมายเหตุ โจทก์ฟ้องและแก้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๗๒, ๓๓, ๙๑, ๒๘๘, ๓๗๑ พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.๒๔๙๐ มาตรา ๔, ๘ ทวิ, ๗๒ ทวิ พระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ.๒๕๓๐ มาตรา ๔, ๑๕, ๔๒ ริบอาวุธปืน หัวกระสุนปืนและเสื้อเกราะป้องกันกระสุนของกลาง  จำเลยให้การปฏิเสธ  ระหว่างพิจารณา นางทองสุข มารดาของนายชำนาญ ผู้ตาย ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาต และโจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นเงิน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์และโจทก์ร่วมแถลงว่า จำเลยถึงแก่ความตายแล้วเมื่อวันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๘ ปรากฏหลักฐานตามสำเนาใบมรณบัตรท้ายหนังสือของสถานีตำรวจภูธรเขาบางแกรก

               ฎีกาที่ ๒๖๕๙/๒๕๖๖ คดีนี้โจทก์มีคำขอให้จำเลยชดใช้เงินที่ยักยอกไปจากผู้ร้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๔๓ จำเลยถึงแก่ความตายระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา อันส่งผลให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๓๙ () แต่เมื่อปรากฏว่าผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี ของต้นเงินที่โจทก์ขอมาด้วย คดีในส่วนแพ่งจึงต้องดำเนินการเพื่อให้บุคคลที่กฎหมายกำหนดเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลยผู้มรณะตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๔๒ ต่อไป

               ฎีกาที่ ๕๓๔-๕๓๕/๒๕๖๖ เมื่อจำเลยที่ ๒ ถึงแก่ความตายระหว่างพิจารณาคดีของศาลอุทธรณ์ภาค ๑ สิทธิในการนำคดีอาญาของจำเลยที่ ๒ มาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๓๙ () แต่สำหรับคดีส่วนแพ่งนั้น ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา ๔๗ วรรคหนึ่ง ดังนี้ ศาลอุทธรณ์ภาค ๑ ต้องดำเนินการตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๔๒ เสียก่อน กล่าวคือ หากครบกำหนดหนึ่งปีนับแต่จำเลยที่ ๒ ถึงแก่ความตายแล้ว ไม่มีบุคคลใดร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนหรือเข้ามาตามหมายเรียกของศาล จึงให้จำหน่ายคดีส่วนแพ่งออกเสียจากสารบบความ ฉะนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค ๑ ด่วนมีคำสั่งจำหน่ายคดีส่วนแพ่งในส่วนของจำเลยที่ ๒ ออกเสียจากสารบบความ ย่อมเป็นการไม่ชอบ

 

การสั่งคดีของศาล คือ จำหน่ายคดีออกเสียสารบบความ ดูฎีกาที่ ๔๙๐๓/๒๕๖๒

               ฎีกาที่ ๔๙๐๓/๒๕๖๒ โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ ๔ ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เมื่อปรากฏว่าในคดีส่วนอาญา จำเลยที่ ๓ ถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค ๒ สิทธิในการนำคดีอาญามาฟ้องจำเลยที่ ๓ ย่อมระงับไปโดยความตายของผู้กระทำความผิด ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๓๙ () แต่ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ ไม่ได้จำหน่ายคดีของจำเลยที่ ๓ ออกเสียจากสารบบความ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องโดยให้จำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ ๓ ออกเสียจากสารบบความ

              

จำเลยถึงแก่ความตาย สัญญาประกันสิ้นสุดลงด้วย ดูฎีกาที่ ๓๔๗๘/๒๕๖๔

               ฎีกาที่ ๓๔๗๘/๒๕๖๔ ป.วิ.อ. มาตรา ๑๑๘ บัญญัติว่า "เมื่อคดีถึงที่สุดหรือความรับผิดตามสัญญาประกันหมดไปตามมาตรา ๑๑๖ หรือโดยเหตุอื่น ให้คืนหลักประกันแก่ผู้ที่ควรรับไป" ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ ๔ ถึงแก่ความตายอันเป็นเหตุให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๓๙ () สัญญาประกันตัวจำเลยที่ ๔ เป็นอันสิ้นสุดลง ศาลจึงชอบที่จะคืนหลักประกันให้แก่ผู้ที่ควรรับไป

 

จำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลได้มีการควบบริษัทเป็นบริษัทใหม่ ไม่ถือว่าจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลถึงแก่ความตายตามนัยมาตรา ๓๙ (๑) ดูฎีกาที่ ๑๐๗๔๑/๒๕๕๙

               ฎีกาที่ ๑๐๗๔๑/๒๕๕๙ ตาม พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.๒๕๓๕ หมวด ๑๒ การควบบริษัท บัญญัติถึงขั้นตอนและวิธีการในการควบบริษัท โดยในมาตรา ๑๕๑ และ ๑๕๒ กำหนดให้คณะกรรมการบริษัทที่ควบกันแล้วต้องขอจดทะเบียนการควบบริษัทต่อนายทะเบียนภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด เมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียนการควบบริษัทแล้ว ให้บริษัทเดิมหมดสภาพจากการเป็นนิติบุคคล จึงไม่ได้มีลักษณะเหมือนกรณีจำเลยที่เป็นบุคคลธรรมดาตาย การควบบริษัทมีผลให้จำเลยที่ ๒๒ หมดสภาพจากการเป็นนิติบุคคลโดยผลของกฎหมายและตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๓๙ () ที่กำหนดว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปโดยความตายของผู้กระทำผิดก็หาได้กำหนดถึงกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลควบบริษัทด้วยไม่ บริษัทที่ควบกันและจดทะเบียนแล้วย่อมได้ไปทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของบริษัทเหล่านั้นทั้งหมดตาม มาตรา ๑๕๓ แห่ง พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.๒๕๓๕ การที่จำเลยที่ ๒๒ ได้ควบบริษัทกับบริษัท ว. และเกิดเป็นบริษัทใหม่ คือ บริษัท ด. ความรับผิดทางอาญาของจำเลยที่ ๒๒ จึงไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๓๙ ()